SA 8000 Social Accountability

by Wish And Wise

รายละเอียด

มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (Social Accountability 8000  : SA 8000) เป็นมาตรฐานแรงงานที่กำหนดขึ้นโดยองค์กรเอกชนในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ Social Accoutability International  เมื่อปี 2540 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการต่าง ๆ นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือทางสังคม  มีสาระสำคัญดังนี้
 
              1. แรงงานเด็ก  บริษัทต้องไม่จ้างหรือสนับสนุนให้มีการจ้างแรงงานเด็ก (อายุต่ำ่กว่า 15 ปี) หรือเยาวชน (อายุ 15-18 ปี) หรือจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่าที่กฎหมายท้องถิ่นกำหนด กรณีมีการจ้างแรงงานเด็กไว้ทำงานอยู่ก่อนแล้ว ต้องให้เด็กได้เข้าโรงเรียนและอยู่ในโรงเรียนจนพ้นวัยเด็ก  และต้องมีมาตรการดูแลมิให้เด็กอยู่ในภาวะอันตราย ไม่ปลอดภัย หรือไม่ถูกสุขอนามัย ทั้งภายในหรือนอกสถานที่ทำงาน  รวมทั้งต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดของเด็กเก็บไว้เป็นหลักฐาน
              2. การบังคับใช้แรงงาน บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนการบังคับใช้แรงงาน โดยการเรียกเก็บเงินประกัน หรือให้ลูกจ้างมอบบัตรหรือหลักฐานประจำตัวแก่บริษัทเมื่อจ้างงาน
              3. สุขภาพและความปลอดภัย บริษัทต้องจัดสถานที่ทำงานและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขอนามัยแก่ลูกจ้าง ต้องจัดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติและระบบการตรวจสอบที่เชื่อถือได้ในการป้องกันการบาดเจ็บ  อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน หรือเกี่ยวข้องกับการทำงาน  นอกจากนี้ ต้องแต่งตั้งผู้แทนซึ่งเป็นผู้บริหารระดับอาวุโสให้มีหน้าที่รับผิดชอบด้า่นสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของลูกจ้าง  อีกทั้งต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานเป็นประจำ  ตลอดจนต้องจัดให้มีห้องน้ำและน้ำดื่มสะอาดและพอเพียงสำหรับลูกจ้างทุกคน

              4. เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง บริษัทต้องเคารพสิทธิของลูกจ้างในการรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน  ต้องเคารพสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองของผู้แทนลูกจ้างและต้องรับรองว่าผู้แทนลูกจ้างจะไม่ถูกเลือกปฎิบัติ และสามารถติดต่อกับสมาชิกในสถานที่ทำงานได้
              5. การเลือกปฏิบัติ บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการว่าจ้าง  การจ่ายค่าตอบแทน  การเข้ารับการฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ  เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ  สัญชาติวรรณะ  ชาติกำเหนิด ศาสนา  ความพิการ เพศหรือความเบี่ยงเบนทางเพศ  สถานะการเป็นสมาชิกสหภาพ หรือการสังกัดทางการเมือง
              6. วินัย บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้วิธีทำโทษ  โดยการทำร้ายร่างกายและการบังคับขู่เข็ญทั้งทางร่างกายและจิตใจ
              7. ชั่วโมงการทำงานและการทำงานล่วงเวลา  บริษัทต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ลูกจ้างต้องไม่ถูกกำหนดให้ทำงานปกติเกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องจัดให้มีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันในทุกๆ ระยะ 7 วัน หากจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาต้องกระทำเฉพาะในสถานการณ์จำเป็นทางธุรกิจช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษเสมอ

              8. ค่าตอบแทน บริษัทต้องจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างอย่างน้อยเท่าอัตราค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด  หรือตามมาตรฐานขั้นต่ำของอุตสาหกรรมนั้น ๆ และต้องเพียงพอสำหรับความจำเป็นขั้นพื้นฐานของลูกจ้าง  การจ่ายค่าตอบแทนการทำงานแต่ละงวดลูกจ้างจะต้องได้รับทราบรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับส่วนประกอบของค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เขาได้รับ  การจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าว อาจจ่ายในรูปเงินสดหรือเช็คก็ไำด้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามความสะดวกของลูกจ้าง   การหักค่าจ้างเพื่อการลงโทษทางวินัยจะกระทำมิได้  นอกจากนี้ บริษัทต้องรับรองว่าจะไม่ใช้วิธีการทดลองงานลูกจ้างหรือทำสัญญาจ้างระยะสั้น ๆ หรือมีการว่าจ้างใหม่เป็นระยะ ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่ให้ลูกจ้างได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย หรือหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบตามกฎหมายประกันสังคม
            9 ระบบการบริหารจัดการ – Management System ในส่วนนี้ก็ว่ากันไปตามแบบ ISO 9000 นั่นเองแต่มาตรฐานนี้เอามาเขียนของตัวเองไว้
                9.1 นโยบาย  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และบันทึก – Policies, Procedures and Records มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีสิ่งเหล่านี้
                9.2 ทีมงานระบบความรับผิดชอบทางสังคม – Social Performance Team  มาตรฐานกำหนดให้มีทีมงานในการจัดทำ และนำระบบไปใช้
                9.3 การชี้บ่งแบะการประเมินความเสี่ยง – Identification and Assessment of Risks มาตรฐานกำหนดให้ทีมงานต้องมีการประเมินความเสี่ยงเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
                9.4 การเฝ้าติดตาม – Monitoring มาตรฐานกำหนดให้มีการเฝ้าติดตามระบบ เรื่องของการตรวจติดตามภายในกำหนดไว้ในข้อนี้
                9.5 การมีส่วนร่วมภายในและการติดต่อสื่อสาร – Internal Involvement and Communication มาตรฐานระบุให้คนในองค์กรต้องมีความเข้าใจมาตรฐาน และองค์กรต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดี
                9.6 การจัดการข้อร้องเรียนและความชัดเจน – Complaint Management and Resolution มาตรฐานต้องการให้มีการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบ ต้องมีการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน และผู้ร้องเรียนต้องไม่ได้รับโทษใดๆ ที่เป็นผลมาจากการร้องเรียน
                9.7 การตรวจสอบภายนอกและความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – External Verification and Stakeholder Engagement  ข้อนี้พูดถึงการตรวจประเมินจากหน่วยงานภายนอกซึ่งองค์กรต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และผู้บรืหารขององค์กรต้องเข้าร่วมในกิจกรรมความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                9.8 การปฏิบัติการแก้ไข และการปฏิบัติการป้องกัน – Corrective and Preventive Actions มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีกระบวนการทั้งสองอย่าง พร้อมจัดเก็บบันทึก
                9.9 การฝึกอบรม และการเสริมสร้างความสมารถ – Training and Capacity Building มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีแผนฝึกอบรม และมีการประเมินผลที่ได้จากการฝึกอบรมเป็นระยะๆ
                9.10 การบริหารผู้ส่งมอบและผู้รับจ้างช่วง – Management of Suppliers and Contractors มาตรฐานต้องการให้มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ โดยต้องมีการติดต่อสื่อสารออกไปว่าองค์กรมีการจัดทำระบบนี้
 
บริษัทที่ควรจัดทำระบบ SA 8000 
 
เนื่องด้วยการจัดระบบการจัดการตามมาตรฐาน SA 8000 พิจารณาจัดทำอิงจากมาตรฐานของ International Organization for Standardization (ISO) เป็นหลัก ฉะนั้นจึงสามารถจัดทำระบบควบคู่ไปกับระบบ ISO 9000 หรือ ISO 14000 ได้ เจ้าของมาตรฐานคือ CEPAA ยืนยันว่ามาตรฐาน SA 8000 สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร ผู้ที่ควรจัดทำระบบการจัดการตามมาตรฐานฉบับนี้ และขอการรับรองควรจะเป็น
  1.  อุตสาหกรรมผลิตที่ใช้แรงงานจำนวนมาก และส่งออกในตลาดอเมริกาหรือยุโรปเหนือ อันได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เซรามิก เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า 
  2. บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนส่งให้กับอุตสาหกรรมในข้อ 1 
  3. เกษตรกรรมส่งออกในตลาดอเมริกาและยุโรปเหนือ

ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำระบบ SA 8000

  1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า ซึ่งในเรื่องนี้พบว่าหลายๆ โรงงานเริ่มถูกลูกค้าทำ 2nd Party Audit ในหัวข้อเรื่องการจ้างแรงงานแล้ว 
  2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย 
  3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม 
  4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่ 
  5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค 
  6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด 
  7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม 
  8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร 
  9. มีช่องทางการตลาดใหม่ 
  10. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ 
  11. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ

You may also like

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
X
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00