รายละเอียด
4. เสรีภาพในการสมาคมและสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง บริษัทต้องเคารพสิทธิของลูกจ้างในการรวมตัวจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน ต้องเคารพสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองของผู้แทนลูกจ้างและต้องรับรองว่าผู้แทนลูกจ้างจะไม่ถูกเลือกปฎิบัติ และสามารถติดต่อกับสมาชิกในสถานที่ทำงานได้
5. การเลือกปฏิบัติ บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติในการว่าจ้าง การจ่ายค่าตอบแทน การเข้ารับการฝึกอบรม การเลื่อนตำแหน่ง การเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ เพราะเหตุแห่งความแตกต่างทางเชื้อชาติ สัญชาติวรรณะ ชาติกำเหนิด ศาสนา ความพิการ เพศหรือความเบี่ยงเบนทางเพศ สถานะการเป็นสมาชิกสหภาพ หรือการสังกัดทางการเมือง
6. วินัย บริษัทต้องไม่กระทำหรือสนับสนุนให้มีการใช้วิธีทำโทษ โดยการทำร้ายร่างกายและการบังคับขู่เข็ญทั้งทางร่างกายและจิตใจ
7. ชั่วโมงการทำงานและการทำงานล่วงเวลา บริษัทต้องกำหนดชั่วโมงการทำงานให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าด้วยกรณีใด ๆ ลูกจ้างต้องไม่ถูกกำหนดให้ทำงานปกติเกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องจัดให้มีวันหยุดอย่างน้อย 1 วันในทุกๆ ระยะ 7 วัน หากจำเป็นต้องทำงานล่วงเวลาต้องกระทำเฉพาะในสถานการณ์จำเป็นทางธุรกิจช่วงเวลาสั้น ๆ เท่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 12 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ โดยต้องจ่ายค่าตอบแทนในอัตราพิเศษเสมอ
9.1 นโยบาย ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และบันทึก – Policies, Procedures and Records มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีสิ่งเหล่านี้
9.2 ทีมงานระบบความรับผิดชอบทางสังคม – Social Performance Team มาตรฐานกำหนดให้มีทีมงานในการจัดทำ และนำระบบไปใช้
9.3 การชี้บ่งแบะการประเมินความเสี่ยง – Identification and Assessment of Risks มาตรฐานกำหนดให้ทีมงานต้องมีการประเมินความเสี่ยงเป็นระยะๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
9.4 การเฝ้าติดตาม – Monitoring มาตรฐานกำหนดให้มีการเฝ้าติดตามระบบ เรื่องของการตรวจติดตามภายในกำหนดไว้ในข้อนี้
9.5 การมีส่วนร่วมภายในและการติดต่อสื่อสาร – Internal Involvement and Communication มาตรฐานระบุให้คนในองค์กรต้องมีความเข้าใจมาตรฐาน และองค์กรต้องมีการติดต่อสื่อสารที่ดี
9.6 การจัดการข้อร้องเรียนและความชัดเจน – Complaint Management and Resolution มาตรฐานต้องการให้มีการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบ ต้องมีการเขียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน และผู้ร้องเรียนต้องไม่ได้รับโทษใดๆ ที่เป็นผลมาจากการร้องเรียน
9.7 การตรวจสอบภายนอกและความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย – External Verification and Stakeholder Engagement ข้อนี้พูดถึงการตรวจประเมินจากหน่วยงานภายนอกซึ่งองค์กรต้องให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และผู้บรืหารขององค์กรต้องเข้าร่วมในกิจกรรมความผูกพันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
9.8 การปฏิบัติการแก้ไข และการปฏิบัติการป้องกัน – Corrective and Preventive Actions มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีกระบวนการทั้งสองอย่าง พร้อมจัดเก็บบันทึก
9.9 การฝึกอบรม และการเสริมสร้างความสมารถ – Training and Capacity Building มาตรฐานกำหนดให้ต้องมีแผนฝึกอบรม และมีการประเมินผลที่ได้จากการฝึกอบรมเป็นระยะๆ
9.10 การบริหารผู้ส่งมอบและผู้รับจ้างช่วง – Management of Suppliers and Contractors มาตรฐานต้องการให้มีการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ โดยต้องมีการติดต่อสื่อสารออกไปว่าองค์กรมีการจัดทำระบบนี้
- อุตสาหกรรมผลิตที่ใช้แรงงานจำนวนมาก และส่งออกในตลาดอเมริกาหรือยุโรปเหนือ อันได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เซรามิก เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า
- บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนส่งให้กับอุตสาหกรรมในข้อ 1
- เกษตรกรรมส่งออกในตลาดอเมริกาและยุโรปเหนือ
ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำระบบ SA 8000
- การป้องกันการกีดกันด้านการค้า ซึ่งในเรื่องนี้พบว่าหลายๆ โรงงานเริ่มถูกลูกค้าทำ 2nd Party Audit ในหัวข้อเรื่องการจ้างแรงงานแล้ว
- ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย
- ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม
- เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่
- สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค
- ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด
- สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม
- ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร
- มีช่องทางการตลาดใหม่
- มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ
- ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ