การทำเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

by Wish And Wise

รายละเอียด

ในกลุ่มอุตสาหกรรมทางการเกษตร เราจำเป็นต้องยอมรับว่าผลจากการแข่งในตลาดขันที่รุนแรงหลายๆ ครั้ง จะทำให้มูลค่าหรือราคาของสินค้าทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ หรืออาจมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เป็นปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ ที่จะส่งผลให้ราคาของสินค้ามีการขยับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแล้ว ผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร หรือเกษตรกร อาจจำเป็นต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาเทคนิคในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้างทางการเกษตรของตัวเอง เพื่อให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตกรได้มากขึ้น

การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร เป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของตัวเองได้ โดยความหมายโดยทั่วไปจะหมายถึง การนำผลผลิตทางการเกษตรมาเพิ่มลักษะพิเศษหรือจุดเด่นบางอย่างให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งสินค้าที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร

สินค้าทางการเกษตรที่เป็นอาหารนั้นจะมีเทคนิคในการเพิ่มมูลค่าโดยการการแปรรูปหรือการถนอมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่สินค่าให้มีราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากมีการทำอย่างเป็นระบบ จะช่วยส่งผลให้ผลผลิตสินค้าทางการเกษตรมีปริมาณไม่ล้นตลาด ทำให้ไม่เกิดสงครามราคาที่จะทำให้ราคาสินค้าลดลง อีกทั้งยังเสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อีกด้วย เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้วนั้นโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดที่เล็กกว่าขนาดปกติ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งจัดจำหน่ายลดลง

อีกทั้งผลจากการแปรรูปที่จะทำให้สินค้าสมารถเก็บได้นานขึ้น ยังจะก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องแก่ธุรกิจ เช่น โรงงานแป้งมันสัมปะหลัง ซึ่งสินค้าหลักของโรงงานคือแป้งมันสัมปะหลัง ส่วนกากที่เหลือจากการทำแป้งสามารถนำไปตากแห้งป่นผสมเป็นอาหารสัตว์และก่อให้เกิดเป็นรายได้ตามมา ถือเป็นการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรธรรมดาไปสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้

พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบ เช่น หมี่กรอบที่ทำเป็นชิ้นใหญ่ก็ทำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำเพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน หรือกล้วยตากที่ขายทั่ว ๆ ไปก็พัฒนาทำมาเป็นกล้วยตากเคลือบช็อกโกแลตหรือรสสตอเบอร์รี่ แล้วทำบรรจุภัณฑ์ใหม่แบบเพ็คชิ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า เป็นต้น

การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมกับชนิดของสินค้าที่แตกต่างกันไป เช่น

  • 1. การอบหรือการตากแห้ง เช่น มะม่วงอบแห้ง ปลาแห้ง
  • 2. การเผา คั่ว หรือการทอดอาหารพร้อมบริโภค เช่น แคปหมู
  • 3. การแช่แข็ง เช่น ข้าวสวยกึ่งสำเร็จรูป เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานและสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน
  • 4. การทําเค็มโดยหมักเกลืออาจนําไปผึ่งแดดหรือไม่ก็ได้ เช่น ปลาเค็ม
  • 5. การหมัก เช่น ปลาร้า  กระบวนการการผลิตอาหารหมักนั้นไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องใช้พิเศษ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ อีกทั้งยังเสริมคุณค่าทางโภชนาการด้วย เช่น การหมักน้ำผลไม้ให้เป็นไวน์ จะได้ประโยชน์ทางโภชนาการที่สูงกว่าน้ำผลไม้สด
  • 6. การดอง เช่น มะยมดอง มะม่วงดอง ทำให้อาหารมีสี มีกลิ่นและรสต่างออกไป
  • 7. การทําให้แห้งโดยอาศัยธรรมชาติ อาศัยการผึ่งลม ผึ่งแดด เช่น ปลา เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เช่น
  • กล้วยตาก ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นกรรมวิธีที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำ แต่วิธีเช่นนี้ต้องอาศัยแสงแดดที่เพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้อาหารเน่าเสียได้
  • 8. การฉายรังสีอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แหนมที่ฉายรังสี

และนอกจากการปรับปรุงเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์โดยตรงแล้วนั้น ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายวิธีที่ใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

  • 1.  การสร้างแบรนด์ (Branding) หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า เป็นการทำให้ตลาดรู้จักสินค้าของผู้ผลิต ทำให้เกิดการจดจำว่าสินค้านี้มีคุณภาพอย่างไร มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอย่างไร และจะช่วยส่งผลให้การขายสินค้ามีความง่ายขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคทราบอยู่แล้วและสามารถคาดหวังได้ว่าถ้าซื้อสินค้าไปแล้วจะมีคุณภาพอย่างไร
  • 2.  การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นหรือสร้างสรค์ คือการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีสินค้าเหมือนกันคุณภาพใกล้เคียงกัน สิ่งที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นคือบรรจุภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่กว่า มีประโยชน์ในการใช้มากกว่า สวยงามกว่า เปิดปิดสะดวกกว่า ทำให้สินค้าดูมีคุณภาพมากกว่าของคู่แข่ง หรืออาจจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก

การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

  • 1. ผลิตสินค้าเกษตรนอกฤดูกาล การที่สามารถผลิตผลผลิตให้มีต่อเนื่องตลอดทั้งปีได้นั้นเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลับสินค้ามากยิ่งขึ้นกว่าผลไม้ตามฤดูกาล
  • 2. การผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการเฉพาะตลาดหรือกลุ่มผู้บริโภคจะยิ่งทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
  • 3. การให้ผลิตผลทางการเกษตรท่ียั่งยืนที่ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้อย่างเหมาะสมขณะเดียวกันผู้ผลิต
  • สามารถได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม
  • 4. มีการจัดการในการเพาะปลูกท่ีดีและเหมาะสม กล่าวคือ ให้ลดการใช้สารเคมีต่างๆ และหันมาใช้วิธีทางธรรมชาติแบบเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น เช่น การใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ  หรือปุ๋ยจากพืชหรือมูลสัตว์ แทนปุ๋ยเคมี หรือใช้สมุนไพรในการกำจัดศัตรูพืช ซึงวิธีเหล่านี้ส่งผลให้ ทรัพยากรธรรมช่ติทั้ง ดิน และน้ำ อุดมสมบรูณ์เช่นเติม ไม่เหมือนกับการใช้สารเคมี ที่ส่งผลต่อดินและน้ำ เมื่อดินดี น้ำดี ผลผลิตก็มีคุณภาพ เมื่อลดการใช้สารเคมีจึงทำให้ลดต้นทุนการผลิตลงไปด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากผลผลิตของเราปลอดสารเคมีในทุก ๆ กระบวนการการผลิต จะทำให้ผลผลิตของเราผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต หรือ GAP ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าของเรามากยิ่งขึ้น ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด และมูลค่าของสินค้าก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร

  • 1. การสร้างแบรณด์สินค้า
  • 2. การสร้างผลผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำเกษตรอินทรีย์
  • 3. การพัฒนาผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
  • 4. การเพิ่มมูลค่าผลผลิต

ขอบคุณข้อมูลจาก

  • สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) – สวก. 2003/61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900

แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์

วิชแอนด์ไวส์ และทีมงาน รวมถึงเครือข่ายผู้ประกอบการเพื่อสังคม มุ่งมั่นในการเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยผู้เกษตรกรหรือวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการ ที่ต้องการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เราให้คำปรึกษาตั้งแต่ การตัดสินใจในการเพาะปลูก กระบวนการที่เกี่ยวข้อง การบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานการรับรอง ด้านการตลาด/การกำหนดราคา และช่องทางการจัดจำหน่าย

สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่

Leave a Comment

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?
X
-
00:00
00:00
Update Required Flash plugin
-
00:00
00:00