รายละเอียดและเงื่อนไขการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
รู้จักค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คือ เงินชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุ ที่ ฝ่ายถูก สามารถเรียกร้องจาก บริษัทประกันภัยของคู่กรณีฝ่ายผิด
เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางในระหว่างที่นำรถเข้าซ่อม ตามจำนวนวันซ่อมจริง โดยมีอัตราค่าชดเชยขั้นต่ำตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด และมีผลบังคับใช้มาแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2562 ซึ่งหากบริษัทประกันรถฝ่ายผิดจ่ายค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ให้น้อยกว่ามาตรฐานขั้นต่ำ อาจเข้าข่ายความผิดฐาน ประวิงค่าสินไหมทดแทน
หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขสำคัญในการที่จะเรียกร้องได้
เมื่อเกิดอุบัติเหตุค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในส่วนนี้นั้นเราสามารถ ขอเคลมหรือเรียกร้องเงินชดเชยได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
- เราเป็นฝ่ายถูก ในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
- มีคู่กรณีที่เป็นยานพาหนะทางบก (รถยนต์/มอเตอร์ไซค์)
- รถเราทำประกันรถยนต์ไว้อย่างถูกต้อง (ประกันชั้นอะไรก็ได้)
- มีใบขับขี่อย่างถูกต้อง
อัตราขั้นต่ำค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถเรียกร้องได้เท่าไหร่บ้าง?
อัตราขั้นต่ำของค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้นมีหลักเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ดังนี้
- รถยนต์ ส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง : เคลมได้อย่างน้อย 500 บาท / วันที่รถซ่อม
- รถยนต์ รับจ้างสาธารณะ ไม่เกิน 7 ที่นั่ง : เคลมได้อย่างน้อย 700 บาท / วันที่รถซ่อม
- รถยนต์ ขนาดมากกว่า 7 ที่นั่ง : เคลมได้อย่างน้อยวันละ 1,000 บาท / วันที่รถซ่อม
- รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ข้อ 1-3 เช่น รถจักรยานยนต์ กำหนดให้เป็นไปตามข้อเรียกร้อง และข้อตกลงกันได้ โดยพิจารณาหลักฐานเป็นกรณี
เอกสารประกอบการเรียกค่าเสียหาย
- ใบเคลม
- ใบนำรถยนต์เข้าซ่อม – ใบรับรถยนต์
- สำเนาการจดทะเบียนรถ
- สำเนาบัตรประชาชน / ใบขับขี่
- เอกสารประกอบการใช้รถยนต์แต่ละวัน (หากมี)
- ใบเสร็จค่าเช่ารถ (หากมี)
- และเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น (หากมี)
ตัวอย่างใบเรียกร้อง (คลิก)